7/25/2554

เรื่องเล่าไร้สาระของผู้หญิงคนหนึ่ง


เดือนมีนาคมมีวันที่ดิฉันชื่นชอบอยู่วันหนึ่ง ก็คือวันสตรีสากลค่ะ...วันที่ยกย่องผู้หญิงให้มีความเสมอภาคและเท่าเทียมกับบุรุษเพศ มาถึงยุคสมัยนี้แล้ว หลายคนอาจเบ้ปาก ยังจะเรียกร้องอะไรกันอีกในยุคที่ทุกอย่างดูคล้ายจะเท่าเทียมกัน...

แต่ก็นั่นล่ะค่ะ เรายังเห็นผู้หญิงถูกทำร้ายจากครอบครัว เรายังเห็นเด็กผู้หญิงถูกลวนลามทางเพศ และเรายังเห็นอีกหลายต่อหลายเรื่องที่ผู้หญิงกลายเป็นฝ่ายที่ถูกกระทำ ทั้งนี้และทั้งนั้นไม่ได้เขียนเพื่อเรียกร้องอะไรมากไปกว่า อยากให้โลกนี้มีความเสมอภาคและให้เกียรติในความเป็นมนุษย์ต่อกันค่ะ...

ไหนๆ ก็เป็นวันสตรีสากลตามธรรมเนียมดิฉันก็มักจะมีเรื่องเล่าของผู้หญิงมานำเสนอ ครั้งนี้นึกไปถึงเรื่องเล่าไร้สาระอย่างสิ้นเชิงของเด็กหญิงผู้นี้ที่กลายมาเป็นภาพยนตร์อีกครั้งหนึ่ง อลิสในแดนมหัศจรรย์

 นิทานเรื่องนี้เป็นหนึ่งในไม่กี่เรื่องที่ดิฉันประทับใจตั้งแต่วัยเด็กภาพวาดในนิทานที่ อลิสเดี๋ยวตัวเล็ก เดี๋ยวตัวใหญ่ แล้วยังจะอุ้มเด็กที่สุดท้ายกลายเป็นหมู อีกทั้งภาพการตีคลีอันแปลกประหลาด ต่างๆ เหล่านี้ยังจำได้เสมอมาค่ะ

อิทธิพลของนิทานเรื่องอลิสในแดนมหัศจรรย์ส่งผลต่อวงการศิลปะแขนงต่างๆพอดูทีเดียวนะคะ ไม่ว่าจะเป็นทัศนศิลป์ ดนตรี หรือแม้กระทั่งภาพยนตร์อย่างเช่น

คูซามะ ยาโยอิ ศิลปินหญิงชาวญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงโด่งดัง เธอเคยทำผลงานชุด alice in wonderland happening, ที่ central park ,new York เมื่อปี 1968 ผลงานชุดนี้เป็นที่กล่าวขานมากระทั่งปัจจุบันเพราะเธอสร้างสรรค์อลิสขึ้นมาเพื่อต่อต้านสงครามค่ะ  ในบทเพลงเองศิลปินอย่าง อลิส คูเปอร์ ร๊อคเกอร์ชาวอเมริกัน ก็เคยได้รับแรงบันดาลใจจากเรื่องเล่านี้ผลิตเป็นผลงานเพลงที่ชื่อ beautiful flyaway มาแล้วนะคะ

และแม้กระทั่งการนำเรื่องเล่าอลิสในแดนมหัศจรรย์มาทำเป็นภาพยนตร์ก็เริ่มกันมาตั้งแต่ปี 1903 โดยผู้กำกับนาม เซซิล เฮปเวิร์ธ โดยครั้งแรกนี้เป็นหนังเงียบค่ะ หลังจากนั้นอลิสก็ถูกนำมาโลดแล่นบนแผ่นฟิล์มอีกหลายต่อครั้งกระทั่งณ วันนี้

เชื่อไหมคะว่า อลิสในแดนมหัศจรรย์มีอายุกว่าร้อยปีแล้วค่ะ ผู้แต่งเรื่องนี้คือ
ชาร์ล ลุควิดจ์ ดอจ์สัน (Rev. Charles Lutwidge Dodgson) หลายคนอาจไม่คุ้นชื่อนี้แต่ถ้าเอ่ยถึงนามปากกาของเขาที่ชื่อ ลูอิส แคร์รอล(Lewis Carroll) ก็คงพอจำกันได้นะคะ ชาร์ล ลุควิดจ์ ดอจ์สัน มีชีวิตอยู่ในระหว่างปี 18321898  เป็นลูกชายคนที่ 3 ในพี่น้อง 11 คนของครอบครัวนักบวชชาวอังกฤษ ตัวเขาเองเป็นทั้งนักคณิตศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญทางตรรกวิทยา และยังมีความสามารถในการถ่ายภาพระดับมืออาชีพอีกด้วยค่ะ

นิทานเรื่องอลิสในแดนมหัศจรรย์มีถึง 4 รูปแบบด้วยกัน ครั้งแรกเขาเล่าเรื่องนี้ระหว่างการพักผ่อนในช่วงฤดูร้อนกับครอบครัวของเพื่อนที่มีลูกสาวสามคน พวกเขาล่องเรือเล่นในแม่น้ำ ระหว่างนั้นเอง
อลิสลูกสาวคนกลางก็ร้องขอให้ ชาร์ลเล่าเรื่องที่เขาแต่งขึ้นมาให้พวกเธอฟัง เพียงแค่อึดใจ ชาร์ลก็เริ่มต้นเล่าเรื่องของเด็กหญิงอลิสวัย 10 ปี 

 บางเวลาชาร์ลหยุดเล่าเพื่อกระเซ้า คอยให้เด็กๆรบเร้าให้เล่าต่อไป บางเวลาเขาก็นึกมันไม่ออกว่าเรื่องจะดำเนินไปเช่นไร แต่สุดท้าย เรื่องราวของเด็กหญิงอลิสก็จบลงระหว่างการล่องเรือในวัน ที่ 4 มิถุนายนปี 1862 เด็กหญิงอลิสในวันนั้นขอร้องให้ชาร์ลบันทึกมันลงในกระดาษด้วยลายมือ เขาใช้เวลาคัดลอกและปรับปรุงจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ปีถัดมา นื่ถือเป็นรูปแบบแรกของอลิสในแดนมหัศจรรย์

 ต้นฉบับลายมือแรกมีชื่อว่า alice ‘s adventures underground ถูกทำลายไปเมื่อปี 1864 เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์  เนื่อง จากชาร์ลได้เขียนมันขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่งและมอบต้นฉบับลายมือรวมทั้งภาพวาด ประกอบที่เขาวาดมันขึ้นมาถึง 37 ภาพให้กับเด็กหญิงอลิสเป็นของขวัญวันคริสตมาส ด้วยถ้อยคำที่จารึกไว้ในหนังสือเล่มนั้นว่า ของขวัญวันคริสตมาสแด่เด็กน้อยในความทรงจำของฤดูร้อนนั้น นี่จึงถือเป็นรูปแบบที่สอง


หลัง จากนั้นชาร์ลก็อวดเรื่องนี้กับเพื่อนๆ หนึ่งในนั้นคือ จอร์จ แมคโดนัล ผู้ซึ่งกระตุ้นให้เขาพิมพ์มันออกมา ชาร์ลได้แก้ไขและลำดับเรื่องใหม่ให้มีความยาวมากขึ้นและนี่ถือเป็นอลิสในแดน มหัศจรรย์รูปแบบที่ 3 ที่ได้รับความสนใจและจัดพิมพ์โดย macmillan and Co. in London ในวันที่ 4 มิถุนายน1865
การพิมพ์ครั้งนั้นมีหนังสือที่ใช้ได้เพียง 15 ฉบับ เนื่องจากภาพประกอบที่วาดโดย เซอร์ จอห์น เทนนีล (Sir John Tenniel) พิมพ์ออกมาแล้วกระดาษไม่ได้คุณภาพ หนังสือส่วนใหญ่จึงถูกเรียกคืนและนำกลับมาพิมพ์ใหม่อีกครั้งออกแพร่หลายทั่ว ไปในเดือนพฤศจิกายนปี 1866 ด้วย รูปแบบที่ไม่ตายตัวและงานเขียนที่แปลกประหลาดทำให้ชาร์ลมีชื่อเสียงมากกว่า การเขียนหนังสือทฤษฎีไปเสียแล้ว เขาเลือกใช้นามปากกาของตัวเองว่า Lewis Carroll ในงานเขียนทุกเล่มนับแต่นั้น

ต่อ มาเรื่องเล่าของอลิสมีการปรับปรุงเค้าโครงเรื่องใหม่เพื่อเป็นนิทานสำหรับ เด็กเล็กที่มีอายุระหว่าง 0 5 ปี มีภาพประกอบ 20 ภาพฝีมือของเทนนีล เช่นเดิม แน่นอนมันถูกจัดทำโดย macmillon และ ตีพิมพ์ในปี 1889 แต่ก่อนจะมีรูปแบบสำหรับเด็กนั้น ในเดือนมีนาคมปี 1885 อลิส ลินเดล เจ้าของหนังสือนิทานลายมือเล่มแรกอลิสในแดนมหัศจรรย์ก็ยินยอมให้ macmillon ตีพิมพ์ต้นฉบับลายมือของชาร์ลเป็นจำนวนถึง 5,000 ก๊อปปี้ ในวันที่ 22 ธันวาคม 1886

เรื่อง เล่าที่สนุกสนานไร้สาระในวัยเด็กของอลิสกลายเป็นเรื่องที่มีชื่อเสียงทำให้ ชาร์ลเขียนหนังสือออกมาถึง 10 เล่ม บางเรื่องเขาเขียนนิทานสำหรับเด็ก บางเรื่องเขายังเขียนเรื่องที่ตัวเองเชี่ยวชาญคือคณิตศาสตร์และตรรกวิทยา

ในปี 1871 ชาร์ล ได้ตีพิมพ์หนังสือ alice’s further adventures ในภาค through the looking – glass และ What Alice found thereนอกจากนี้ยังมีนิทานเรื่อง Hunting the snark และเรื่อง sylvie and Bruno ตามมาอีกด้วย  เคย มีนักวิจารณ์วรรณกรรมกล่าวไว้ว่าเรื่องเล่าไร้สาระของชาร์ล ลุควิดจ์ ดอจ์สัน เรื่องนี้ถูกแต่งขึ้นในสมัยวิกตอเรียน เนื้อหาของมันเต็มไปด้วยการเสียดสีเย้ยหยันการเมืองและการใช้ชีวิตของคน อังกฤษในยุควิกตอเรีย ที่อังกฤษเริ่มเปลี่ยนความนิยมวรรณกรรมแนวโรแมนติกมาเป็นแนวสัจนิยม ซึ่งนักเขียนยุคนั้นได้พรรณนาถึงสภาพสังคมที่ฟุ้งเฟ้อ ไม่จริงใจ เต็มไปด้วยพวกมือถือสากปากถือศีล  เป็นยุคจอมปลอมและฟุ้งเฟ้อไร้สาระ จนทำให้คนในสังคมส่วนหนึ่งถวิลหาความฝันแบบเด็กๆ ธรรมชาติและความบริสุทธิ์ใจของเพื่อนร่วมโลก  

แม้ เวลาจะผ่านมากว่าร้อยปีแล้วก็ตาม เรื่องเล่าของหญิงสาวนามอลิสที่เผลอวิ่งเข้าไปในโพรงกระต่ายครั้งนั้น ยังเป็นสิ่งที่ดิฉันเชื่อว่าหลายคนคงอยากจะทำบ้าง เผื่อว่าโพรงกระต่ายที่หลุดเข้าไปอาจมีอะไรที่น่าอยู่และปราศจากความขัดแย้ง และสงครามก็เป็นได้.
·         ขอบคุณ http://www.bedtime-story.com/bedtime-story

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น