1/18/2555

จากสมุดบันทึกเก่าๆ

รื้อค้น จัดห้องหับใหม่ หลังน้ำลด เจอโน่น พบนี่ มากมาย หนึ่งในนั้นคือสมุดบันทึก ที่เปิดๆ ดูแล้วก็นึกสนุกอยากเขียนไว้อีกที่ทางหนึ่ง  หนึ่งในหลายหน้าของสมุดบันทึก ฉันเขียนๆ ลอกๆ เอาไว้ว่า...
...การรวมกลุ่มเป็นเมือง เกิดจากปัจจัยแวดล้อมอะไรบ้าง...
ย้อนกลับไปในสมัยก่อน การสร้างอาณาจักร สร้างเมือง ล้วนต้องการ แรงงานของมนุษย์เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานทั้งสิ้น เมืองไหนมีไพร่พลเยอะำก็ถือว่าเมืองนั้นแข็งแรงแน่นหนา หากมีศึกสงครามก็ต้องใช้กำลังคนเหล่านี้เป็นพลังในการต่อสู่ แน่นอนหากฝ่ายใดพ่ายแพ้ กำลังคนของฝ่ายนั้นต้องถูกกวาดต้อนเพื่อเป็นเชลยศึก เพื่อยังประโยชน์ ให้แก่เมืองที่ได้ชัยชัน....

และ...
ในภาษาชาวบ้าน "สิทธิ" จึงหมายถึง การที่พวกเขาเป็นผู้กำหนดวิถีชีวิตของเขาได้เอง ถ้าคนอื่นมากำหนดให้เขา โดยจับเขาย้ายออกไป ก็ต้องถามว่าคนนั้น สามารถจะมารองรับชีวิตเขาได้หรือเปล่า
ชาวบ้านต้องการจะบอกว่า พวกเขาเป็นคน และคนเราเป็นที่มนุษย์ก็สามารถกำหนดชีวิตของตัวเองได้ แต่เมื่อคนอื่นอยากจะมาบงการชีวิตของเขาแทนตัวเขาแล้ว คนเหล่านั้นก็จะต้องสามารถรับผิดชอบต่อชีวิตของพวกเขาให้ได้ด้วย

และั...
แต่ละชั้ยของสังคมมีลำดับศักดินาที่ต่างกัน ทำให้แต่ละบุคคลมีชั้นและฐานะทางสังคม ตลอดจนหน้าที่ และความรับผิดชอบต่างกัน
ัทั้งอยุธยาและสุโขทัย มีระบบความสัมพันธ์ทางสังคมแบบศักดินากับระบบเศรษฐกิจที่มีพื้นฐานบนเกษตรกรรมได้สร้างความเหลื่อมล้ำต่ำสูงในทางสังคมและเศรษฐกิจให้เกิดขึ้นในสังคมไทย ผู้ที่มีศักดินาสูงยอ่มมีโอกาสที่ะได้รับประโยชน์ทางเศรษฐกิจและอำนาจทางการเมืองตลอดจนสามารถสะสมอำนาจและความมั่งคั่งได้มากกว่าผู้ที่มีศักดินาต่ำกว่า ดังนั้น อำนาจทางการเมืองและความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจจึงเป็นปัจจัยที่เสริมซึ่งกันและกัน โดยตำแหน่งและฐานะทางราชการเป็นตัวกำหนด สถานภาพทางสังคม และเป็นปัจจัยอันนำมาซึ่งความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ

ไพร่ ในสมัยอยุธยา คือปัจจัยการผลิตในด้านแรงงานที่สำคัญ ไพร่ตามกฎหมายไทยต้องขึ้นทะเบียนสังกัดมูลนาย เพื่อแลกเปลี่ยนกับสิทธิทางกฎหมาย และการได้รับความคุ้มครองจากเจ้านาย

และ...
1. เกริ่นถึงระบบศักดินาของไทยที่หล่อหลอมให้คนในสังคมมีระบบคิดแบบชนชั้น เจ้าพระยามีที่เยอะ มีแรงงานที่จะผลิตสิ่งของให้ตนเองได้ และถือว่าตนเองเป็นเจ้าของแรงงาน ไม่ใช่เจ้าของคน
2. ด้วยระบบคิดนี้เองที่ทำให้ คนชั้นสูงของไทยโดยเฉพาะในวงราชการนึกอยากจะทำอะไรก็ทำได้ เพราะพวกเขานึกอยากจะได้ที่ดินตรงไหนก็เพียงแต่ขอ พวกเขาก็ได้แล้ว
3. นอกจากได้ที่ดิน พวกเขาก็ยังได้ทาสติดที่ดินไปด้วย ทาสเหล่านี้ นี่เองที่เป็นกำลังการผลิตให้กับคนพวกนี้ ได้อย่างดี
4. ทาสมาจากไหน ในบันทึกของฝรั่ง สมัยอยุธยากล่าวว่า เชลยศึกที่พ่ายแพ้สงคาามก็จะกลายเป็นแรงงาน ให้กับขุนศึก พวกเขามีหน้าที่ผลิตและออกรบ เพราะแต่ก่อนประชากรน้อย คนถือเป็นทรัพยากรที่มีค่ามาก ทั้งทางเศรษฐกิจและการทหาร
5. แต่หลังจากที่บ้านเราปรับเปลี่ยน การปกครองเข้าสู่ประชาธิปไตย รากความคิดดั้งเดิมในระบบศักดินาก็ใช่ว่าจะลบออกไปจากชนชั้นขุนนางได้หมด เพราะระบบคิดแบบนี้พวกเขาไม่มีเสีย มีแต่ได้ ความคิดนี้จึงถูกส่งผ่านรุ่นต่อรุ่นไม่มีวันจบสิ้น
6. ขณะที่ทุนนิยม กลายเป็นกระแสหลักของสังคมไทย กำลังคนในการผลิตทางภาคเกษตร ถือว่าไม่สำคัญอีกต่อไป ทรัพยากรเหล่านี้จึงถูกทอดทิ้ง และถือเป็นภาระที่ไม่มีประโยชน์ ทรัพยากรทางธรรมชาติ เริ่มมีคุณค่ามากขึ้น ตามลำดับของเม็ดเงิน
7. ขณะที่คนอยู่ในพื้นที่ ที่มีผลประโยชน์มากกว่า ก็จำต้องอพยพโยกย้าย เพื่อผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ การโละทิ้ง "คน" จึงมีให้เราเห็นกันอยู่เสมอมา ไม่ว่าจะเรียกพื้นที่ใหม่ให้สวยหรูอย่างไรก็ตาม คน ก็กลายเป็นสิ่งที่ถูกโละทิ้งอยู่ดี

และ...
ชาวบ้านในท้องถิ่นก็กลายเป็นพวกบ้านแตกสาแหรกขาดไป เพราะต้องอพยพโยกย้ายจากท้องถิ่นเดิม หาได้เงินค่าเวนคืนที่ดินและพืชผลเพียงพอแก่การสร้างชุมชนแบบที่เคยอยู่กันมาช้านานแต่เดิมไม่ เพราะชุมชนท้องถิ่น ไม่ได้เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ต้องอาศัยการสร้างสรรค์ทางสังคมในหลายชั่วคนที่จะทำให้เกิดขึ้น....

สรุป...จนบัดนี้ ฉันก็ยังจำไม่ได้ ว่า ข้อมูล ข้อความทั้งหมดนี้ ฉันเขียนไปที่ไหน และเรื่องอะไร... ค่อยๆ นึก คงจะจำได้เอง!!

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น